วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ว่าด้วยเรื่องระบบความปลอดภัยด้านการขับขี่ในรถยนต์

   ในระยะหลังๆมาค่ายรถยนต์ทั่วโลกหันมาสนใจระบบความปลอดภัยในรถยนต์ที่มากกว่า เดิม เพื่อการป้องกันและปกป้องชีวิตของผู้โดยสารให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพที่ สุด ซึ่งเราจะมาพูดถึงเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยในด้านการขับขี่ที่รถแทบทุกรุ่น ในโลกจะต้องมีกันหมดแล้ว เว้นเสียแต่รุ่นล่างๆในบางรุ่นเท่านั้นครับ ซึ่งที่เราจะกล่าวมาทั้งหมดก็แทบจะพูดได้ว่ากลายเป็นระบบความปลอดภัยมาตรฐาน ที่ต้องติดในรถแทบจะทุกเซกเมนต์แล้วครับ ที่เราจะกล่าวก็จะมีระบบเบรก ABS,ระบบกระจายแรงเบรก EBD,ระบบเสริมแรงเบรก BA,ระบบควบคุมการทรงตัว,ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี


ระบบเบรก ABS (Anti-lock Brake System) 
    ระบบเบรค ABS หรือ Anti-lock Brake System นั้นเป็นระบบที่ใช้การผสมผสานระหว่างระบบกลไกและระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ป้องกันล้อไม่ให้เกิดการล็อคเมื่อมีการใช้เบรกหนักทำให้สามารถมี โอกาสในการหลบสิ่งกีดขวางช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้


    หลักการทำงานของ ABS นั้น ใช้การควบคุมแรงดันน้ำมันเบรคที่ดันผ้าเบรค ทำให้ผ้าเบรคถูกจับแล้วปล่อยในระยะถี่ในอัตราส่วน 16 -50 ครั้ง/วินาทีแล้วแต่ผู้ผลิต ทำให้ล้อนั้นไม่ถูกล็อค เมื่อมีการใช้แรงเบรคหนัก แต่จงอย่าเข้าใจผิดครับว่ามี ABS แล้ว ทำให้ระยะเบรคสั้นลง เพราะไม่เกี่ยวเลย

    ย้้ำไว้ ณ ที่นี้ว่า ระบบเบรคนั้นไม่ว่าจะ ABS หรือ ทั่วๆไป สำคัญคือการควบคุมแป้นเบรค ซึ่ง ABS
จะเข้ามาทำงานเมื่อระบบตรวจพบว่าล้อมีความเร็วเกินกว่า 8 กม./ชม. (เกิดการลื่นไถลในขณะเบรค) ระบบ ABS ก็จะรับข้อมูลแล้วสั่งการทันที
ข้อห้ามในระหว่างการใช้เบรก ABS

1. ห้ามตกใจ หลายคนตกใจเมื่อได้ยินเสียง ABS ทำงาน เพราะการคุมแรงดันน้ำมันของระบบ ABS
นั้นจะทำให้เกิดเสียที่ดังสู่ห้องโดยสาร "ครืดๆ" เช่นเดียวกับแรงสั่นสะเทือนที่แป้นเบรค ซึ่งทำให้คนทั่วไปหลายคนตกใจ และนำไปสู่อุบัติเหตุได้


2. ห้ามย้ำเบรก หลักการทำงาน ABS จำเป็นต้องใช้การตรวจแรงดันเบรก ซึ่งการทำงานเบรกนั้นเมื่อเราเหยียบแป้นเบรกก็จะไปเพิ่มดันน้ำมันในปั้มเบรค ซึ่งเมื่อเราถอนน้ำหนัก แรงดันนั้นก็จะลดลง ผลคือ ABS ไม่ทำงาน ฉะนั้นอย่าย้ำเบรคครับ

3. อย่าถอนน้ำหนักเบรก เมื่อเหยียบแป้นเบรกและ ABS ทำงานแล้ว จำไว้เสมอครับว่า อย่าถอนน้ำหนักออกจากแป้นเบรก ให้เหยียบค้างไว้ แล้วให้สมาธิกับการหักพวงมาลัย ให้ผลสถานการณ์เสี่ยง และเมื่อพ้นแล้วถึงค่อยถอนน้ำหนักเบรกได้

4. ทางลูกรัง ABS อาจอันตราย นี่เป็นเรื่องที่หลายคนไม่ค่อยทราบ แต่บนถนนบางแบบ ABS อาจเป็นต้นเหตุทำให้อันตราย โดยเฉพาะทางลูกรังหรือโคลนนั้น การเบรคโดยใช้ระบบ ABS อาจทำให้มีระยะทางเพิ่มขึ้นกว่าปกติ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากอัตราการเกาะถนนที่น้อยกว่าในพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งการใช้เบรค ABS จะทำให้รถลื่น ในขณะที่การใช้เบรคที่ล้อล็อคปกติ จะทำให้ล้อกดลงไปเพื่อเพิ่มอัตราการเกาะมากกว่า บางครั้งอาจขุดพื้นผิวเพื่อสร้างระยะหยุดที่สั้นกว่า


ระบบกระจายแรงเบรก EBD ( Electronic Brake force Distribution)
   หลักการทำงาน  EBD   จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนหลัก คือ เซ็นเซอร์วัดความความเร็วที่ล้อขับเคลื่อนคู่หน้า-หลัง   ชุดวาล์วควบคุมแรงดันระบบไฮดรอลิกและกล่องสมองกลคอมพิวเตอร์  หรือ EBD ซึ่งจะใช้กล่องสมองกลนี้ร่วมกับระบบ ABS ทั้งระบบ  แต่ละใส่โปรแกรมพิเศษเพื่อสร้างสมดุลของการกระจายแรงเบรก  โดยแยก การทำงานของระบบเบรกในแต่ละล้อให้สามารถทำงานได้โดยอิสระ สอดคล้องกับสภาวะ การขับขี่และการเบรก 

การกระจายแรงเบรกที่ล้อหน้าและล้อหลัง
การทำงานของระบบ EBD จะเป็นไปโดยอัตโนมัติทันทีที่ผู้ขับกดแป้นเบรก  โดยกล่องสมองกลจะนำค่าความ ต่างของความเร็วในการที่ล้อหน้าคู่หน้าและหลัง  ที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้ขับขี่กดแป้นเบรกใช้ในการคำนวณเพื่อหาปริมาณแรงกัน น้ำมันเบรกสูงสุดที่ระบบจะสามารถส่งให้เบรกทำงานได้  โดยไม่ก่อให้เกิดอาการ เบรกล็อกที่ล้อหลังจนเกิดอาการท้ายปัด  โดยเฉพาะในกรณีที่มีการบรรทุก สัมภาระหรือมีผู้โดยสารมาก  รถที่มีการบรรทุก น้ำหนักส่วนใหญ่จะกดลงที่ล้อหลัง  ทำให้ เบรกหลังต้องรับภาระมากกว่าปกติ   


ระบบเสริมแรงเบรก BA (Brake Assist)
   หน้าที่ของมันคือ การเพิ่มแรงกดของเบรกมากขึ้นเป็นพิเศษโดยอัตโนมัติ และควาบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อให้เพียงพอกับสภาพการขับขี่  โดยเฉพาะในช่วงที่มีการเบรกอย่างฉุกเฉิน ซึ่งบางครั้งผู้ขับขี่มีอาการตื่นตระหนกแม้ว่าจะกดแป้นเบรกได้เร็วตาม สัญชาตญาณก็จริง แต่ส่วนใหญ่เท่าที่พบจะไม่มีน้ำหนักกดมากพอที่จะหยุดรถได้ทันท่วงที เช่น เมื่อมีรถจะผสานการทำงานร่วมกับระบบ   ABS และ EBD ช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้

ระบบ  BA  จะทำงานอัตโนมัติโดยมีเซ็นเซอร์จับความเร็วและแรงที่มากระทำต่อเเป้นเบรกใน สภาวะที่ผู้ขับแป้นเบรกอย่างรวดเร็ว ซึ่งระบบจะประมวลผลและตัดสินทันทีว่าผู้ขับกำลังเบรกกะทันหันจากนั้นจึงส่ง ข้อมูลเหล่านี้ เข้ามาที่ชุดกล่องคอมพิวเตอร์ (Skid Control ECU) เพื่อสั่งให้มีการเพิ่มแรงดันน้ำมันเบรกสูงสุดไปที่คาลิปเปอร์ของชุดเบรกโดย มีระบบ ABS เข้ามาทำงานร่วมเพื่อป้องกันการเกิดอาการล้อล็อกและไม่ให้เสียการทรงตัว

เมื่อระบบ   BA    ทำงานแล้ว   ระยะเบรกในช่วงที่มีการเบรกกะทันหันจะลดลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับรถไม่ มีระบบนี้ทำให้ผู้ขับขี่ที่มีประสบการณ์น้อยสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัยจน ไม่ต่างจากผู้ขับขี่ที่มีประสบการณ์บนท้องถนนสูง


ระบบควบคุมการทรงตัว VSC/VSA/ESP/ESC/....
    จะชื่ออะไรก็ช่างเถอะครับ เพราะมีหลักการทำงานเดียวกัน โดยมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนที่ของรถเมื่อเกิดอาการลื่นไถล ระบบจะทำการสั่งเครื่องยนต์ให้ลดการทำงานพร้อมกับส่งแรงดันเบรคไปยังล้อ ต่างๆ เพื่อทำให้สามารถควบคุมอาการที่ไม่พึงประสงค์เช่น อันเดอร์สเตียร์ (หน้าดื้อ)
หรือ โอเวอร์สเตียร์ (ท้ายปัด) ทำให้รถสามารถควบคุมในเวลาที่คับขัน และสามารถลดภาวะเสี่ยงต่ออุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นระบบ ESC นั้นแนะนำครั้งแรกในช่วงปี 1995 โดย Mercedes-Benz ใส่มันมาในรถรุ่น S-Class ในช่วงนั้น ตามด้วย BMW และ Volvo ที่แนะนำในปี 1998 ในรุ่น Volvo S80 ค่ายรถแดนอาทิตย์อุทัยก็ไม่น้อยหน้าครับ เมื่อ Toyota ติดตั้งระบบแบบเดียวกันใน Toyota Crown Majesta ในปี 1995 ก่อนที่อีก 9 ปีให้หลังจะใช้ชื่อว่า VDIM

    ในบ้านเรานั้นระบบควบคุมการทรงตัว เริ่มมีการแนะนำอย่างแพร่หลายมากขึ้นในรถยนต์ใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องยนต์1.8-2.0 ลิตร ทั้งในคอมแพ็คคาร์และซีดานกลาง ซึ่งตอนนี้ก็ได้มาอยู่ในรถซับคอมแพกต์อย่าง Honda City และ Jazz แล้วครับ จากการศึกษาล่าสุดในสหรัฐนั้นก็แสดงให้เห็นว่าระบบควบคุมการทรงตัวนั้นช่วย ลดภาวะการเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่า 18 % เลยทีเดียว หลังจากที่เริ่มมีการแนะนำในรถยนต์หลายๆรุ่น ตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี/ระบบป้องกันการลื่นไถล (TRC/TCS)

  ระบบนี้ช่วยให้ ผู้ขับขี่ควบคุมรถยนต์ได้มากขึ้นเพราะขณะออกตัวหรือเหยียบคันเร่งบนถนนที่ ลื่นหรือทางลูกรัง  อาจทำให้รถมีอาการปัดหรือลื่นไถล  เนื่องจากล้อหน้า(ล้อขับ) มีการหมุนในอัตราความเร็วทีมากกว่าล้อหลัง  ทั้งนี้เพื่อทำให้ล้อหน้าและล้อหลังหมุนในอัตราความเร็วที่เท่ากันซึ่งเป็น ภาวะที่รถไม่มีการปัดจึงได้ติดตั้งระบบป้องกันล้อหมุนฟรี (TRC) เพื่อป้องกันอาการดังกล่าวครับ


    หลักการทำงานของ TRC นั้น  จะทำงานโดยมีเซ็นเซอร์ตรวจจับความเร็วของล้อทั้ง 4
ล้อ ถ้าล้อหน้ามีอัตราความเร็วมากกว่าล้อหลัง เซ็นเซอร์ตรวจจับความเร็วจะส่งสัญญาณไปยังกล่องสมองกลควบคุมการลื่นไถลเพื่อ ส่งสัญญาณให้ระบบควบคุมการเบรกส่งแรงดันน้ำมันเบรกไปยังล้อหน้า
และขณะเดียวกันกล่องสมองกลควบคุมการลื่นไถลก็ส่งสัญญาณไปยังกล่องสมองกลควบ คุมเครื่องยนต์เพื่อควบคุมกำลังเครื่องยนต์ไม่ให้มากขึ้น แม้จะมีการเหยียบคันเร่งต่อไปก็ตาม โดยการทำงานทั้งหมดจะใช้เวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที การทำงานร่วมกันดังกล่าวของระบบเบรก และการลดกำลังเครื่องยนต์จะช่วยให้ลดอาการปัดหรือลื่นไถลออกจากเส้นทางเพื่อ ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ



   ในขณะที่ขับรถออกจากหล่มโคลนนั้น รถต้องการกำลังเพื่อใช้ในการตะกุย ซึ่งถ้าระบบ TRC ทำ
งานอยู่ระบบจะทำการลดกำลังเครื่องยนต์เพราะอัตราความเร็วของล้อทั้ง 4 ไม่เท่ากัน ดังนั้น หากต้องการกำลังเครื่องยนต์ในการ ตะกุย ให้ทำการยกเลิก ระบบTRC การยกเลิกระบบป้องกันล้อหมุนฟรี ให้กดที่สวิตช์ “TRC OFF” ไฟแสดงสถานะ “TRC OFF” จะติดขึ้น และ เมื่อลักษณะการขับขี่เป็นปกติ ต้องการใช้งานระบบ TRC อีกครั้งให้กดที่ี่สวิตช์ “TRC OFF” ไฟแสดงสถานะ “TRC OFF” จะดับลง


   ซึ่งในปัจจุบันระบบป้องกันล้อหมุนฟรี TRC ได้มีการนำมาติดตั้งในรถยนต์หลายรุ่นแม้แต่รถยนต์นั่งระดับเล็ก ก็ได้มีการติดตั้งระบบนี้ และคาดว่าอีกไม่นาน ระบบนี้จะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรถยนต์ทุกรุ่นทุกระดับครับ
   และที่ผมกล่าวมานี้ ก็ถือเป็นระบบความปลอดภัยในเรื่องการขับขี่ที่รถในหลายๆรุ่นต้องมี โดยเฉพาะในรถซีดานขนาดคอมแพกต์และขนาดกลาง ควรจะมีติดตั้งในทุกยีห้อ และยิ่งเฉพาะระบบ ABS และ EBD ที่บางค่ายยังแอบกั๊กไม่ใส่ในรุ่นล่างๆ ควรเอามาใส่ได้แล้วครับ ต้นทุนมันขึ้นไม่สูงเท่าไหร่หรอก อย่าลดต้นทุนเลย 

ขอบคุณแหล่งอ้างอิง


 แนะนำ ติชม พูดคุย ติดตามข่าวสารรถใหม่ฉับไวก่อนใครกับ Cars New Update ที่นี่!!


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวรถได้
ห้ามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพนัน หรือสิ่งผิดกฎหมาย

Like Box