วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สอดส่อง ขุดคุ้ยตำนานรถ Episode 03 : Mitsubishi Lancer Evolution

   หากพูดถึงตำนานความร้อนแรงแสนสะท้านของรถในยุคก่อนๆนั้น ถ้าไม่นับพวกซูเปอร์คาร์หรือรถฝั่งยุโรป อะไรพวกนี้ แล้วมาดูรถขับสนุกในแดนอาทิคย์อุทัยกัน แล้วถ้าพูดถึงรถในค่ายสามเพชรละก็ เราก็ต้องนึกถึงรถอย่าง Mitsubishi Lancer Evolution แน่นอน ซึ่งหลายคนก็เรียกสั้นๆกันแบบติดปากว่า Evo นั่นเอง แน่นอนว่าตั้งแต่อดีตยันปัจจุบัน มีสายเลือดทายาทแห่งตระกูล Evo ที่มาวิ่งบนท้องถนนมากว่า 25 ปีแล้ว และแน่นอนมันได้สร้างชื่อเสียงและฝากผลงานให้กับ Mitsubishi มามากมายครับ



   แต่ในปัจจุบันสาวก Mitsubishi และ Evo ทั้งหลายคงจะต้องฝันสลายเพราะ Evo คันปัจจุบันได้ยุติการผลิตในหลายๆที่แล้ว ก็ยกเว้นอเมริกาที่จะผลิตต่อจนถึงช่วงปี 2015 และอาจจะไม่มีรุ่นใหม่อีกเลย เพราะโครงการ Lancer โฉมใหม่ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะมีโฉมใหม่เลย ฉะนั้นโอกาสรอดของ Evo ก็คงไม่มีแล้วละครับ ฉะนั้น Mitsubishi Evolution 10 ตัวปัจจุบันก็น่าจะเป็นรุ่นส่งท้ายของโปรเจกต์ Evolution ที่สร้างชื่อเสียงมานาน ฉะนั้นก่อนที่เราจะจากลากันกับรุ่นนี้ เรามาย้อนดูตำนาน Evolution กันตั้งแต่โฉมแรกกันเลยดีกว่าครับ

ยุคที่ 1 : Lancer E-Car
Mitsubishi Lancer GSR Evolution
   ไอ้ตัวแรงคันนี้ได้ถือกำเนิดขึ้นหลังจากการเปิดตัว Mitsubishi Lancer รุ่นธรรมดาในปี 1988 ซึ่งไอ้ตัวนี้เมืองไทยเราเรียกกันติดปากว่า Lancer E-Car ต่อมาในปี 1990 Mitsubishi ได้นำร่องออกรุ่น Lancer GSR 1.8 Turbo AWD มาดูเชิงก่อน และมั่นใจอีกว่าโครงสร้างของ Lancer ตัวนี้ยังต่อยอดให้รถมีสมรรถนะสูงขึ้นได้อีก

    และในปี 1992 เจ้าแห่งตำนานคันแรกได้ถือกำเนิดขึ้นจากโครงสร้างของ Lancer GSR 1.8 Turbo AWD แต่ขุมพลังในรุ่นนี้กลับยัดเครื่อง 4G63T ที่ยกมาจาก Galant 2.0 Turbo VR4 ซึ่งได้ทำการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม โดยลดน้ำหนักเพลาข้อเหวี่ยง  ก้านสูบ  และลูกสูบ ออกแบบท่อร่วมไอดีใหม่ ใช้เทอร์โบที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม จึงส่งผลให้รถคันนี้พกพาพละกำลังมา 250 แรงม้า นับว่าแรงถ้าเทียบกับรถในระดับเดียวกัน มากับแรงบิด 315 นิวตัน-เมตร ระบบเกียร์ขับเคลื่อน 5 สปีด พร้อมชุดกระจายแรงขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ พัฒนาให้เล็กกว่า Galant VR4 ด้วยขุมพลังตัวนี้นี่เอง ทำให้ Mitsubishi กลายเป็นจ่าฝูงของรถแข่งญี่ปุ่นทันที นอกจากในเวอร์ชั่นถนนแล้ว ยังมีเป็นเวอร์ชั่นแบบรถแข่งออกมาด้วยนั่นคือ Lancer RS Evolution ที่เป็นรถที่นำไปทำเป็นตัวแข่ง โดยตัดแอร์และกระจกไฟฟ้าออกไป

   นอกจากนี้ Lancer GSR Evolution ได้รับการพัฒนาในด้านแอโร่ไดนามิก โดยชุดกระจังหน้าจะเป็นชิ้นเดียวกับแอร์ดิฟฟิวเซอร์ ที่มีช่องรับอากาศชนาดใหญ่เข้าสู่อินเตอร์คูลเลอร์และออยคูลเลอร์ ด้านหลังก็มีสปอยเลอร์แบบ Hi Lift Deck ที่มีปีกรับลมยกสูงเหนือซึ่งฝากระโปรงท้ายมา ซึ่งสปอยเลอร์ทรงนี้เรียกว่า Spoiler Evolution ซึ่งเป็นที่ิยมในหมู้นักแข่งยุค 90 แรกๆ แม้หน้าตาจะดูแปลก แต่ก็ได้รับความนิยม สำหรับภายในของรถก็มีของเล่นครบ ไม่ว่าจะเป็นเบาะ Recaro Semi Bucket Seat จากโรงงาน พวงมาลัย MOMO ระบบปรับอากาศดิจิตอล โดยรวมนับว่าครบครันเลยละครับ


   และในรายการมอเตอร์สปอร์ตปี 1993 เจ้า Lancer GSR Evolution ก็เสนอหน้าในรายการแรกของปีที่มอนติ คาร์โล โดบมีชาวสวีเดนนาม Kenneth Elikson ควบเจ้า Lancer RS Evolution จนไต่ขึ้นมาอันดับ 4 และถือว่าเป็นการเปิดทางสู้ความยิ่งใหญ่ของค่ายสามเพชรเค้าด้วยละ

Mitsubishi Lancer GSR Evolution II
    และต่อมาในปี 1994 เมื่อ Mitsubishi Lancer E-Car มีการ Minor Change เลยเป็นผลพวงให้ Evolution ปรับโฉมตามด้วย โดยปรับความยาวฐานล้ออีก 10 มม. ปรับสตรัทด้านหน้าให้ทแยงมุมไปด้านหน้าเล็กน้อย และเป็นผลให้ต้องคว้านซุ้มล้อให้กว้างขึ้น และเพิ่มพละกำลังเครื่องยนต์อีก 10 แรงม้าเป็น 260 แรงม้า แต่ยังมีแรงบิดเท่าเดิม ซึ่งมาจากการปรับ Deta ของ ECU ใหม่ แรงม้าที่เพิ่มขึ้น 10 ตัว ส่งผลให้ EVO II มีอัตราเร่งที่ดุดันกว่า EVO I และการขยายฐานล้อออกไป 10 มม. ก็ทำให้ตัวรถมีคาแร็คเตอร์ในการทำความเร็วทางตรงที่ดีกว่าเดิม โดยไม่ลดความกระฉับกระเฉงออกเลย


   ภายนอกของ Evolution II มีการเติมแต่งในส่วนของ Front Air Damp ต่อชายต่ำลงไป แต่ยังใช้ Front Face เหมือนตัวเดิม มีการเสริมสเกิร์ตข้างเข้าไป และปรับสปอยเลอร์หลังให้มี Lip Deck ส่วนที่ติดแปะฝากระโปรงท้ายอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ส่วนท้ายของ Evolution II ดูสมบูรณ์แบบมากขึ้น ล้ออัลลอยเปลี่ยนมาใช้ของ OZ Racing 5 ก้านเพิ่มความเป็นรถแข่ง ความลงตัวใน Evolution 2 นี้เองถือว่ามากจนทำให้มีคนสะสมมันเยอะ ภายในใช้เบาะนั่ง Recaro แต่เปลี่ยนรุ่นเป็น RS พวงมาลัยก็ MOMO ตามเดิม

   เจ้า Evolution II ก็ฝากผลงานในวงการมอเตอร์สปอร์ตไว้เหมือนกัน โดยเจ้า Lancer RS Evolution II เริ่มติดอันดับบนโพเดี้ยมบ่อยขึ้น ภายใต้นักแข่ง Kenneth Elikson และ Tommi Makinen น้องใหม่ในที Mitsubishi Ralliart Euro เข้ามาเสริมด้วย ในรายการ WRC ส่วนใหญ่จะขึ้นโพเดียมแทบทุกรายการครับ แต่จุดพีคก็คือในสนาม Swidish WRC เจ้า EVO II ทำตำแหน่งจ่าฝูงและรองจ่าฝูงสำเร็จ และที่ฟินยิ่งกว่าคือรายการ Asia Pacific Rally Champion Ship ที่ Kenneth สามารถคว้าตำแหน่งรองแชมป์มาได้

Mitsubishi Lancer GSR Evolution III
    1 ปีให้หลังจาก Evolution II ค่ายสามเพชรได้ทำการ Minor Change ให้กับ Evo อีกครั้ง พกพาความแรงขั้นเทพ และงานดีไซน์ Aero Part สุดแนว และมากับเครื่อง 4G63T Evo ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นไปอีกระดับ เพื่ออัตราเร่งใน Turbo เพื่อจะได้มีอัตราเร่งที่ดี เพิ่มขนาดหัวฉีดใหญ่ขึ้น ลดน้ำหนักลูกสูบ 20% หัวสูบเคลือบสารทนความร้อน ใส่ระบบ One Way Valve ดึงเชื้อเพลิงส่วนเกินเข้าไปเผาไหม้ใหม่ เปลี่ยนโมเดลของเทอร์โบใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มากับพละกำลัง 270 แรงม้า ดูเหมือนจะไม่น่ากลัวแต่มันมากับอัตราเร่งจาก 0 ถึง 100 ใน 5.8 วินาที ทำเอาสปอร์ตแท้ๆหงายเงิบได้อี
    การดีไซน์ภายนอกใหม่ของ EVO III ทำให้หลายคนนึกถึงการ์ตูนกันดั้ม Front Face ขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรับกับขนาดอินเตอร์คูลเลอร์ที่ใหญ่มากๆ พร้อมระบบฉีดน้ำอินเตอร์คูลเลอร์ที่ใครๆในยุคนั้นมองข้าม ซึ่งระบบนี้ช่วยลดอุณหภูมิที่เข้าไปในห้องเครื่องตั้งแต่รถหยุดนิ่งเลย สเกิร์ตข้างใหญ่ขึ้น สปอยเลอร์ท้ายที่ปีกตัวสามารถปรับองศาต้านลมได้ และด้วยรูปลักษณ์สปอร์ตทำให้โฉมนี้ดูสปอร์ตสุดๆเลย


   Lancer Evolution III WRC ถือว่าเป็นการคัมแบ็คของรถระดับแชมป์โลก ในปี 1995 EVO III WRC ควบคู่มากับ Subaru Impressa WRC แทบทุกสนาม ผลัดกันแพ้ชนะ ถ้าตา Tommi Makinen รั้งตำแหน่งไว้ซักนิด รายนี้รถไม่ค่อยพัง ก็ตกข้างทางจนรถพัง ในปี 1995 แชมป์ WRC และ APRC คงจะต้องเป็นของ Mitsubishi Ralliary Euro แล้ว แต่ก็ทำได้ดีคือ Kenneth ที่รั้งรองแชมป์ทั้ง 2 รายการ และเป็นแชมป์ผู้ผลิตในรายการ APRC ในปี 1996 Mitsubishi Ralliart Euro มี Tommi Makinen เป็นมือหนึ่งและ Richad Burns ที่ย้ายมาจาก Subaru 555 WRC และ Tommi เริ่มใจเย็น จนสามารถคว้าแชมป์โลกได้ และ Mitsubishi Ralliart Euro ก็ได้รับรองแชมป์ประเภททีมโรงงานมาครองได้ ถือว่าเป็นการคัมแบ็คของอัศวินทางฝุ่นอย่างสวยงาม

ยุคที่ 2 : Lancer CK Model (ท้ายเบนซ์)
Mitsubishi Lancer Evolution IV
    และต้นปี 1996 ถือเป็นการก้าวสู่ยุคที่ 2 ของตำนาน Evolution ด้วยตอนนั้นมีการออก Lancer โฉมใหม่ CK Model ที่เรารู้จักกันในนาม Lancer ท้ายเบนซ์ รุ่นนี้ถือมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ด้วยการเปลี่ยนการวางเครื่องจากการหันทางด้านซ้ายของตัวรถ มาเป็นหันทางด้านขวาของรถ ทำให้ระบบเกียร์ของรถสามารถสร้างแรงม้าและแรงบิดที่ดีกว่าเดิม และเครื่องยนต์ของ Evolution ตัวใหม่ก็ได้รับการพัฒนาอีกเช่นกันครัย

   ในปีเดียวกัน Lancer Evolution IV ก็ได้คลอดออกมามากับตัวถังที่ใหญ่กว่ารุ่นเดิมพอสมควร มาพร้อมกับชุดแอโร่พาร์ที่อลังกว่าเดิม สปอยเลอร์ใหม่ และฝากระโปรงหน้ามี Intercooler ด้วย นอกจากนี้ยังมีการใส่ไฟตัดหมอกขนาดใหญ่ติดบนกันชนหน้าในรุ่น GSR Evolution แต่ถ้าเป็นรุ่น RS Evolution จะไม่ได้ติดมาให้แต่จะมีฝาปิดไว้

   เครื่องยนต์ที่กลับด้านมีการพัฒนาบล็อกเสื้อสูบใหม่ที่หั่นน้ำหนักลง แต่ยังคงใช้ขนาดลูกสูบและช่วงชักเท่าเดิม ฝาสูบออกแบบใหม่ให้ลดความกว้างลงเพื่อให้เครื่องยนต์มีความกะทัดรัด ปรับตำแหน่งเครื่องไปชิดกับ Fire Wall ได้มากขึ้น ระบบ Turbo ใช้แบบ Twin Scroll แต่ใช้ขนาดเดิมซึ่งลดอาการรอรอบได้เป็นอย่างดี แค่ด้วยค่า Nozzle Area (มันคืออะไร???) ที่ 9.8 CM3 ทำให้ม้า 280 ตัว ตีนต้นไม่ดีเท่า 270 หลายคนจึงกังขาไม่น้อยครับ

   ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อที่เอาเทคโนโลยีการกระจายแรงขับให้สัมพันธ์กับล้อทั้ง 4 มีเสถียรภาพในการขับเคลื่อนถูกนำมาลองใส่ใน Lancer GSR Evolution IV ซึ่งถูกขนานนามว่า Actic Yaw Control (AYC) รุ่น RS ยังคงเป็นแบบ 1.5 Way ธรรมดา ก็เพราะไอ้ระบบ AYC นี่หละครับที่ทำให้ตีนต้น EVO IV ช้ากว่า EVO III และก็มีน้ำหนักมากกว่า EVO III ด้วย ส่งผลให้ยอดจองของ Lancer GSR Evolution มีไม่มากแต่คนหันไปเล่น Lancer RS Evolution IV มากกว่าครับ
   

   และในวงการมอเตอร์สปอร์ต เจ้า EVO IV WRC เริ่มแจ่มใสขึ้น แม้ต้นปี 1997 Tommi Makinen จะไม่ชินกับ EVO IV ตัวแข่งเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเริ่มเข้ากลางฤดูกาลก็เริ่มชินมือขึ้น และเริ่มดันตัวเองติดโพเดี้ยม 1-2-3 แทบยทุกสนาม Tommi เป็นแชมป์โลกสมัยที่ 2 แต่ Mitsubishi Ralliart Euro ยังคงเป็นรองแชมป์ตามเคย

Mitsubishi Lancer Evolution V
   ข้อติหลายอย่างที่ถูกกระหน่ำไปยัง EVO IV ทำให้ค่ายสามเพชรต้องเดินหน้าปรับปรุงรถตัวเองเสียใหม่ ด้วยการ Minor Change หลังจากค้นพบว่า แรงบิดยังไม่พอ ไอเสียที่มีมหาศาลมันอัดอั้นไว้ เอามันไปปั่นเต็มที่ไปเลย ด้วยการเพิ่มค่า Nozzle Area เป็น 10.5 CM3 ไปเลย และเพิ่มแรงบิดจากเดิม 360 เป็น 380 Nm ทีนี้ก็แรงขึ้นไปอีก และในปี 1998 Mitsubishi ก็ได้ออก Evolution V แบบไม่สนใจใครในพิกัด 2.0 ลิตร 4 สูบเทอร์โบเฉพาะตัว โดยเฉพาะตัว Lancer RS Evolution V ที่มากับกังหันเทอร์ไบน์ และไอเสียแบบไทเทเนียม ตีนต้นกระชากตัวออกจนหลายคนให้ฉายามันว่า WRC Road Car เพราะมันแรงยังกะเป็นรถ World Rally Car เลยละครับ


   นอกจากการปรับเครื่องยนต์ยังมีการปรับปรุงตัวรถ ด้วยการขยายฐานล้อให้กว้างขึ้น มีการเปลี่ยนวัสดุหลายชิ้นในส่วนระบบรองรับและกันสะเทือนให้เป็นแบบอะลูมิเนียม โดยเฉพาะปีกนกหน้าและแชน Link Get ทั้งหมด เพื่อลดน้ำหนักของระบบรองรับลง มีผลต่ออัตราส่วนของน้ำหนักตัวถังกดลงสู่ช่วงล่างทั้งหมดมากขึ้น ทำให้รถเกาะถนนมากกว่าเดิมและนุ่มขึ้นด้วยครับ

    ด้วยการที่ขยายฐานล้อหน้าหลังให้กว้างขึ้น จึงต้องออกแบบชุดแอโร่พาร์ทใหม่ ในส่วนซุ้มล้อหน้าและหลัง แก้มบังโคลนหน้าใช้อะลูมิเนียมทั้งชิ้นและทำเป็น Wide Body ในตัว ด้านหลังนั้นติดแนวประตูขึงใช้เป็นแบบ Over Fender ที่ทำจาก ABS เหน็บยึดติดเข้ากับแนวซุ้มล้อเดิมที่ถูกขยายให้ใหญ่ขึ้น โดยชุดแอโร่พาร์ทของ EVO V ออกแนว กันดั้ม เอามากๆครับ ดุดันกว่า EVO IV ด้วย ชนิดที่ว่าทรงของมันพร้อมออกไปแข่ง WRC ได้เลย


   ในวงการมอเตอร์สปอร์ต ตัวนี้ถือว่าเป็นตัวที่สร้างความสำเร็จมาเยอะ โดย 2 สนามแรกของปี 1998 Tommi ทำดีไว้แล้ว 2 สนามที่ 1 ติดต่อกัน แต่พอได้เจ้า EVO IV WRC ใหม่แกไม่จบ 2 สนามติดกัน ขับนำๆเข้ามาก็ไปกินหญ้าข้างท้ายเสียงั้น กลางฤดูกาลจนถึงปลายฤดูกาลจึงต้องตั้งสติลดความอยากเป็นแชมป์สมัยที่ 3 ปรากฏว่า 5 สนามแรกก็คว้าแชมป์ไป อีก 2 สนาม ก็คว้าที่ 2 ในปี 1998 Tommi Makinen และทีม Mitsubishi Ralliart Euro ก็คว้าแชมป์โลกไปพร้อมๆกัน

Mitsubishi Lancer Evolution VI 
   หลังจากที่ตระกูล EVO V ขายได้เพียง 1 ปี จนปี 1999 Mitsubishi ก็ทำการ Minor Change อีกครั้ง ทั้งๆที่หลายคนยังเทความสนใจให้กับ EVO V อยู่ ก็เพราะอันเนื่องมาจาก EVO V มีความดุดันเกินไม่เหมาะกับตลาดยุโรปและอเมริกา ทำให้สองตลาดนี้ไม่ค่อยเติบโตเท่าไหร่ บ้างก็ว่าชุด Front Face และไฟตัดหมอกขนาดใหญ่ที่ไม่ผ่านกฏหมายในหลายประเทศ โดยเฉพาะไฟตัดหมอกขนาดใหญ่ที่กำลังจะถูกแบนจากกฏหมายยุโรปเมื่อปี 1999 บ้างก็บอกว่า Mitsubishi ต้องการลดต้นทุนเพราะชุดหน้าและปีกหลังของ EVO V ต้นทุนแพงมาก 


   ฉะนั้นจึงมีการปรับปรุงชุดแอโร่พาร์ทใหม่ ยังคงมี Front Face ที่ปรับช่องลมที่มีความเหลี่ยมให้มีความโค้งมนเข้ามา ช่องไฟตัดหมอกขนาดยักษ์แทนที่ด้วยขนาดเล็กพอดี ส่วนสเกิร์ตหลังและกันชนท้ายและสเกิร์ตรอบคันยังคงเป็นเหมือน EVO V ทำให้มันดุดันน้อยกว่าเดิม แต่มีความเซ็กซี่และอ่อนช้อยกว่าเดิม ทำให้ถูกอกถูกใจฝรั่งมากกว่าเดิม

   เครื่องยนต์และระบบส่งกำลังไม่ได้แตะอะไรเลย ทำให้ความแรงของ EVO VI ไม่ต่างจาก EVO V เลยแม้แต่กระจุกเดียว มันยังคงเป็นไฮเปอร์คาร์ซีดานที่ได้รับสมญานามว่า WRC Road Car ตามเคย และเจ้า Lancer GSR Evolution VI ได้สร้างความหงายเงิบและเสียบแทงหัวใจซูเปอร์คาร์และสปอร์ตระดับเทพในสมัยนั้น ด้วยอัตราเร่ง 0-100 กม. ในเวลาแค่ 4.6 วินาทีเท่านั้น ชนิดที่ Porsche 911 และ Ferrari F360 ในสมัยนั้นต้องเงิบเพราะทำได้ 4.8 วินาที แต่ถ้าความเร็วปลายละก็ เจ้ากบเจ้าม้าชนะขาดครับผม

Mitsubishi Lancer Evolution VI Tommi Makinen Edition

   และกลับมาที่สนาม WRC เจ้า EVO VI WRC ก็ยังคงเป็นทหารม้าคู่ใจที่พา Tommi Makinen ล่าแชมป์โลกต่ออีกเพื่อให้ได้แชมป์ 4 สมัยซ้อน และก็มากับอีหรอบเดิมครับ ต้นฤดูกาลชนะ 2 สนาม ฤดูกาลถัดไปก็หล่นบ้างอะไรบ้าง พอช่วงปลายก็เริ่มกลับมาเทพอีกครั้งกวาด 2 สนามติดกัน สนามสุดท้ายของปี 1999 แค่ Tommi เข้าที่ 5 ก็ทำให้ลุงแกได้แชมป์สมัยที่ 4 และแกก็รักษาเนื้อรักษาตัว เอาที่ 5 สนามสุดท้ายจริงๆ ในปี 1999 Tommi เป็นแชมป์สมัย 4 แต่ผู้ผลิต Mitsubishi Ralliart Euro เป็นรองแชมป์

ยุคที่ 3 ยุคที่กลับมาแรงบนท้องถนนอีกครั้ง
Mitsubishi Lancer Evolution VII
    เมื่อเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ ในปี 2000 Mitsubishi Lancer รุ่นแม่บ้านก็ได้ลืมตาดูโลกขึ้นมา ในรูปร่างที่ดูเรียบหรูกว่าเดิมจนทำให้แฟนๆ EVO ตะขิดตะขวงใจว่า EVO รุ่นใหม่จะออกมาเป็นไง และต้นปี 2001 Mitsubishi Lancer GSR Evolution ก็ได้ฤกษ์คลอดออกมาลงโชว์รูม Mitsubishi Ralliart หน้าตายังคงได้ความเรียบร้อยแบบ Lancer ธรรมดา แต่ก็ให้ความดุดันสไตล์ EVO การดีไซน์รถได้นำเอาโป่งล้อ Wide Body ออกไป และชุดกันชนหน้าที่ชุด Front Face ติดกับสปอยเลอร์ไปเลย โดยรวมก็เข้ากันกับรถได้มากกว่าเดิม โดยรถคันนี้ได้ลดความไฮเปอร์ลง แต่มีความเป็นรถถนนมากขึ้นครับ


    เครื่องยนต์ 4G 62T EVO VII ไม่ได้ต่างจากของ EVO VI เลย แต่เราก็ไม่ทราบว่าเพราะอะไรเครื่อง EVO VII จึงลดขนาด Nozzle Area เหลือ 9.8 CM3 จากเดิม 10.5 CM3 ผลปรากฏว่าตีนต้น EVO VII ไท่กระโจนเท่า EVO VI และ V เลย จึงกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กัน ระบบส่งกำลังนั้นทาง EVO VII ได้รับเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของ Traction Control เข้ามา ซึ่งยังไม่มีรถระดับนี้ติดตั้งลงไป และทางค่ายสามเพชรขนานนามมันว่า Active Taw Control System S-AYS เป็นเฟืองท้ายที่ปรับสมดุลกระจายแรงโดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุมร่วมถึง Center Diff ก็ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ที่มีชื่อว่า ACD (Active Center Diff) ช่วยปรับสมดุลการขับขี่บนถนนได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะทางเรียบหรือกรวด และถนนหิมะ แม้ EVO VII จะไม่ได้มีสมรรถนะที่แรงสะใจเหมือนรุ่นที่ผ่านมา แต่ก็ทำให้รถมีสมรรถนะในการขับเคลื่อนดีขึ้น ส่วนรุ่น RS ตัว Center Diff และเฟืองท้ายจะเป็นแบบกลไกธรรมดา

   ในปี 2001 ถือว่าเป็นโชคไม่ดีของค่ายสามเพชรที่ต้องเสียนักขับมือดี Tommi Makinen ไปให้กับ Subaru World Rally ซึ่งลุงทอมก็ยังสังกัดอยู่จนวันนี้ ทำให้ทางค่ายหานักแข่งไม่ทัน ในช่วงปี 2001-2003 Mitsubishi EVO VII เลยไม่ได้แผลงฤทธิ์ แต่ยังไงก็ตาม ในรายการระดับ Minor หรือภูมิภาคก็ยังมีนักแข่งนอกสังกัดใช้ EVO VII ในการแข่งขัน

 Mitsubishi Lancer Evolution VIII
    เมื่อรุ่นแม่บ้าน Lancer ธรรมดา Minor Change เมื่อปลายปี 2002 ถัดมาในปี 2003 Lancer GSR Evolution VIII ก็ออกตามมาด้วยหน้าตาที่โค้งมนขึ้นกว่าเดิม เปลี่ยนกระจังหน้าและฝากระโปรงหน้าใหม่ ตามด้วยสปอยเลอร์ท้ายใหม่ ซึ่งดุดันขึ้นจาก EVO VII เยอะ

   เครื่องยนต์จากรุ่นก่อนที่บ่นกันว่าขาดเอกลักษณ์ที่เคยถูกเรียกว่าเป็น WRC Car บนท้องถนน ทำให้ทาง Mitsubishi ต้องกู้คืนชื่อเสียงเก่าๆกลับมาให้จงได้ และมั่นใจว่าระบบ S-AYS และ ACD รับแรงกระชากได้แน่นอน Turbo ลูกใหม่ เลยใส่ลงไปแทน Nozzle Area 9.8 CM3 และก็เป็นไปตามแผน เพราะ EVO VIII มันกลับมาเป็น WRC Road Car ได้จริงๆครับ และทาง Mitsubishi ได้จัดเกียร์ 6 สปีดมาให้ด้วย ทำให้ EVO VIII จึงครบครันและกลายเป็น Hypercar Sedan แถวหน้าทันที และยอดขายรถก็กระเตื้องขึ้นด้วยครับ แต่....

   ปี 2004 Mitsubishi ได้เข็น EVO VIII MR โดยอักษร MR ได้ถูกขุดมาใช้อีกครั้งหลังจากเคยใช้กับ 3000 GTO MR ซึ่ง MR ก็คือ Mitsubishi Racing เดิมใช้ครั้งแรกในปี 1973 กับ Mitsubishi Galant GTO 1.6 MR ที่ใส่ 4G32 Saturn Twin Cam ตัวแรงในยุค 70S และเคยใช้กับ Lancer 1.6 MR ที่มากับเครื่อง 4G92 Mivec ในยุค 90S โดยเจ้า Lancer Evolution VIII MR ได้ปรับโครงสร้างให้เป็นแบบไลท์เวท นอกจากฝากระโปรงหน้าและแก้มหน้าจะเป็นอะลูมิเนียม แผ่นหลังคาก็เป็นอะลูมิเนียมด้วย ซึ่ง EVO รุ่นก่อนๆไม่เคยทำครับ 

   พละกำลังไม่ต่างจาก EVO VIII ธรรมดา แต่ว่ามีการใช้เทอร์โบแบบใหม่ที่ออกแบบช่อง Twin Scroll ใหม่และใช้ใบกังหันเทอร์โบด้านไอดีเป็นแมกนีเซียมอัลลอย แทนอะลูมิเนียมอัลลอย ซึ่งแข็งแรงกว่าและสามารถทำรอบ Turbo ได้เร็วกว่ารุ่นเดิม ส่งผลให้อัดอากาศได้รวดเร็วและหนักกว่าเดิม แรงบิด EVO VIII MR มีให้ถึง 400 Nm เป็นรถ Evo เครื่อง 2.0 ตัวแรกที่มีแรงบิดขนาดนี้ให้ใช้กัน มันจึงเป็นหนึ่งใน EVO ที่มีคนใฝ่หามาขับเล่นรุ่นหนึ่ง


   ในปี 2004 Mitsubishi Ralliart Euro ถูกลากเข้ามาร่วมสนามระดับโลกอีกครั้ง จึงจับเจ้า EVO VIII มาทำรถ WRC โดยความพร้อมของทีมก็ไม่มีเท่าไหร่ เพราะนักแข่งมือดีก็หนีไปแข่งทีมอื่นแล้ว เจ้า Lancer Evolution WRC 04 จึงถูกลากเข้ามาแข่งท่ามกลางความไม่เต็มใจของค่ายสามเพชรมากนัด อย่างเก่งก็ทำได้แค่จบ 3 รายการเท่านั้น ไม่มีตำแหน่งใดๆเลย แต่ในระดับรายการภูมิภาค EVO VIII ก็สามารถขึ้นเป็นแชมป์ได้ และทีมนอกสังกัดก็ใช้ EVO VIII แข่งกันในรุ่น JWRC มากมายเลยละครับ

Mitsubishi Lancer Evolution IX
    ก่อนที่ค่ายสามเพชรจะปิดฉาก Lancer ตัวถัง CT9A ลง และเลิกผลิตเครื่องตระกูล 4G ทั้งหมด Lancer Evolution IX จึงมาช่วยปิดฉากได้อย่างสวยงาม



    รูปลักษณ์ตัวรถแทบไม่ได้ต่างจาก EVO VIII เปลี่ยนแค่กระจังหน้าใหม่ที่กลับมาใช้ไฟตัดหมอกอีกครั้ง ซึ่งเป็นแบบโปรเจกเตอร์ดวงเล็กๆ แม้ภายนอกเปลี่ยนเท่านี้ แต่ไส้ในนั้น Mitsubishi เปลี่ยนเต็มๆทิ้งท้าย 4G62T ด้วยการใช้ฝาสูบแบบมีระบบวาล์วแปรผันที่ทางค่ายขนานนามว่า MIVEC เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะเท่านั้น ถือเป็นระบบวาล์วแปรผันทรงประสิทธิภาพตัวหนึ่ง ในด้านมุ่งเน้นความแรงของเครื่องยนต์ Turbo ใน EVO VIII MR ถือว่าเทพแล้วครับ แต่ EVO IX มันเทพกว่า โดยเฉพาะเวอร์ชั่น EVO IX RS และ EVO IX GT ซึ่งตัวเทอร์โบนอกจากกังหันด้านไอดีเป็นแมกนีเซียแล้ว กังหันด้านไอเสียยังเป็นไททาเนียม ซึ่งเบาและทนความร้อนสูงมาก สำหรับ GSR EVO IX ใช้กังหัน ID เพียงอะลูมิเนียมอัลลอย แต่ด้านไอเสียเป็นไทเทเนียม ฝาสูบที่มีวาล์วแปรผันบวกกับเทอร์โบทรงประสิทธิภาพ ทำให้แรงบิดสูงถึง 408 Nm ในรุ่น EVO IX RS และ EVO IX GT มีแรงบิดจัดมาให้ถึง 415 Nm ทำให้ EVO VIII เงิบกันเลยละครับ เครื่องยนต์ที่เทพแล้ว ยังมีระบบรองรับและกันสะเทือนที่ใช้ของ Blistein ล้อมาตรฐานเป็นของ Enkai Racing มีออปชั่นเพิ่มตังก์เป็น BBS ด้วย แต่ถ้าในตัว EVO IX GT จะให้เป็นมาตรฐานเลยครับ

   ในวงการมอเตอร์สปอร์ต EVO IX แผลงฤทธิ์ในระดับ JWRC และสามารถเป็นแชมป์ระดับโลก และระดับภูมิภาคในรายการเอเชียแปซิฟิค และยุโรป ซึ่งต้องบอกเลยครับว่า ไม่มีรถแข่งในสายผลิตสู้ EVO IX ได้เลย





ยุคสุดท้าย: เจเนเรชั่นที่ 10 ของตำนานแห่งท้องถนน

2005 ว่าที่ทายาทรุ่นที่ 10 เผยโฉมในนาม Concept X
   ตื่นในปี 2005 รถต้นแบบรุ่นใหม่ล่าสุดที่แสดงแนวการออกแบบของ All-New Mitsubishi Lancer ในอนาคต ได้ออกมาโชว์โฉมในงาน Tokyo Motor Show เจ้า Concept X เป็นหนึ่งในผลงานการออกแบบของ Omer Halilhodzic นักออกแบบชาว Bosnian ที่เคยออกแบบรถให้กับ Mercedes-Benz มาก่อน ในยุคความร่วมมือของ Mitsubishi และ Daimler AG ทำให้เขาผู้นำสนใจนำเสนอผลงานการออกแบบให้กับ Mitsubishi งานชิ้นแรกคือ Mitsubishi Colt Minor Change ปี 2004 และออกแบบแอโร่พาร์ทให้กับ Mitsubishi Colt รุ่นสมรรถนะสูง จนมาถึงผลงานชิ้นโบว์แดงก็คือ Concept X นั่นเอง


    Concept X ที่โชว์ตัว ไม่มีใครที่นึกฝันเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอัศวิน EVO โฉมที่ 10 ได้ รวมไปถึงมันจะเป็นแนวการออกแบบให้ Lancer ตัวพื้นฐาน เพราะมันหลุดแนวคิดอนุรักษ์นิยมของ Mitsubishi มาก แต่สุดท้าย Omer ก็ทำให้เจ้า Concept X กลายเป็น Production Car ได้จริงๆ และยังนำเอกลักษณ์ใน Concept X มาใช้ถึง 85% ในรุ่นพื้นฐาน และมากถึง 90% ในรุ่น Evolution X



2007 Mitsubishi Lancer Evolution X ออกสู่ตลาด ใหม่หมดจดรอบคัน

   และในปี 2007 All-New Mitsubishi Lancer ก็ออกสู่ตลาดในเดือนกรกฎาคม ด้วยรูปโฉมที่ออกไปทาง Concept X ค่อนข้างมาก และแน่นอนก็ทำให้สาวก EVO วาดหวังไว้ว่า EVO X จะออกมาเป็นไง แต่สาวก EVO แนวอนุรักษ์ก็ไม่อยากให้ EVO X ดีไซน์ออกไปทางต้นแบบที่ออกแบบล้ำอนาคตมากเกินไป


   2 เดือนต่อมา All-New Mitsubishi Lancer Evolution X ก็ถูกนำเสนอบนหน้านิตยสาร และโชว์อยู่หน้าโชว์รูม Mitsubishi Ralliart ซึ่งมันก็ไม่ทำให้ 2 กลุ่มผิดหวัง แต่ก็สร้างความไม่พอใจแก่พวกอนุรักษ์ไม่น้อยเลย เราะทุกอย่างใน EVO X พวกเขาไม่รู้จักเลยแม้แต่หน้าตาของมัน


     EVO X ได้รับการเปลี่ยนขุมพลังชุดใหม่ที่ไม่มีสายสัมพันธ์กับ 4G63T เลยแม้แต่ขี้เล็บ เป็นเครื่องใหม่หมดทั้งกระบิ บล็อกใหม่นี้คือ 4B11T เป็นอะลูมิเนียมอัลลอยทั้งฝาสูบและเสื้อสูบ ฝาสูบเป็นแบบ DOHC 16 วาล์ว พร้อมระบบวาล์วแปรผันแบบ MIVEC ทั้งไอดีและไอเสีย กระบอกสูบเป็นแบบลอนที่น้ำหล่อเย็นสัมผัสกับกระบอกสูบเลย เพลาข้อเหวี่ยงเป็นแบบไลท์เวท ลดน้ำหนักที่ข้อการสูบเทอร์โบก็ปรับขนาดของ Nozzle Area ไปถึง 12 CM3 กันเลยทีเดียว แรงม้าที่ทำอยู่ระหว่าง 280-320 แรงม้า ปรับค่า ECU ตามกฎหมายในแต่ละประเทศว่ากำหนดแรงม้าที่เท่าไหร่

   ที่น่าตื่นตาตื่นใจก็คือระบบส่งกำลังซึ่งเป็นครั้งแรกของรถญี่ปุ่นที่ใช้ระบบส่งกำลังแบบ Dual Clutch เหมือนรถยุโรปนั่นเองครับ ซึ่งเกียร์ผลิตจาก Getrag มีอัตราทดทั้งหมด 6 สปีด ซึ่งทาง Mitsubishi ให้ชื่อว่า Twin Clutch-SST ซึ่งระบบเกียร์ตัวนี้รับกระแสวิพากษ์วิจารณ์มาในเรื่องของ Rag Time ช่วงจังหวะเป็นอัตราทดมีมากเกินไป Mitsubishi จึงเรียกกลับมาลดเวลาลง ซึ่งก็ส่งผลดีขึ้น ส่วนระบบขับเคลื่อน 4 ล้อเป็นแบบ Active Yaw Control ที่พัฒนาเป็นแบบ Super ทั้งหมด และมีการเพิ่ม Active Stabillity Control เข้ามาด้วย เพื่อให้สมดุลการขับเคลื่อนมีความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งหมดนี้จะมีอยู่ใน Mitsubishi Lancer GSR MR Evolution X ส่วน Version GSR และ RS จะใช้ระบบเกียร์ธรรมดา 5 สปีด ซึ่งในตัว GSR จะตัดระบบ Active Stabillity Control ออกไป และในรุ่น RS ระบบ Active Yaw Control จะถูกตัดออกไปด้วย แล้วใส่ลิมิเต็ตสลิปแบบ 1.5 ทาง เข้ามาแทน

   Mitsubishi Lancer Evolution X ถือเป็น EVO ที่ผิดปกติจากทุกรุ่นที่สุด เพราะจากวันแรกที่เปิดตัว มันไม่มีแม้แต่รุ่น EVO XI หรือ EVO XII ตามออกมาเลย ไม่มีการ Minor Change แม้แต่นิดเดียว มีเพียงแค่การเพิ่มอย่างนั้น ตัดอย่างนี้ ไปเพิ่มเป็น EVO X อีกเวอร์ชั่นหนึ่ง ในตลอด 7 ปีที่ทำตลาด EVO X มันก็ยังเป็น EVO X อยู่เหมือนเดิม ไม่มี EVO XI ออกมาเลย



Mitsubishi Lancer Evolution X FQ-400 ที่สุดของ EVO X

   หากจะหารถ EVO X ที่เป็นรุ่นฮาร์ดคอร์ ก็ต้องหาตัวที่มีรหัส FQ ตามหลัง โดย Evolution FQ Edition ไม่ได้เป็นผลงานจากญี่ปุ่นโดยตรง แต่เป็นผลงานจูนอัพของแผ่นดินอังกฤษ ที่พัฒนา EVO ทั้งหลายให้เทพกว่า EVO ธรรมดา โดยสำนัก Mitsubishi Ralliart GB เป็นทั้งตัวแทนจำหน่าย EVO และเป็นสำนักเพิ่มสมรรถนะให้กับ EVO ทั้งหลาย อย่างถูกต้องตามกฎหมายและรับผิดขอบดูแลเจ้ารถพวกนี้ด้วยครับ


   ซึ่งผลงานแรกๆของสำนักนี้ก็คือ Evolution VI Race Spirit ที่เพิ่มขุมพลัง 280 แรงม้าเป็น 320 แรงม้า พอ EVO VII ก็เปลี่ยนรหัสเป็น FQ โดยมี Edition ให้เลือก ได้แก่ FQ-300 FQ-330 FQ360 และสุดยอดที่สุดก็คือ FQ-400 ซึ่งเริ่มมีตั้งแต่ EVO VIII รวมถึง EVO X ด้วย

   สำหรับ Evolution X FQ-400 ต้องบอกก่อนเลยว่ามันคือสุดยอดของ EVO FQ ทั้งหมดเลย ซึ่งมันมากับพละกำลังทั้งหมด 410 แรงม้า และเบ่งสูงสุดได้ถึง 450 แรงม้า และแรงบิดอันมหาศาลถึง 545 Nm มันถูกโมดิฟายด์รอบคันตั้งแต่ตัวรถ เครื่องยนต์ ระบบรองรับกันสะเทือน ท็อปสปีดของรถคันนี้ทำได้ที่ 300 กม./ชม.เมื่อทำการปลดล็อกระดับความเร็ว และอัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม.ที่จี้ตูด Sport Car ที่ 3.8 วินาที ซึ่งอาจทำให้ Super Car บางคันถึงกับเหงื่อตกได้ แต่ที่น่าหนักใจก็คือราคาของมันที่อยู่ที่ 49,900 ปอนด์ในอังกฤษ หรือประมาณ 2.4 ล้านบาทไทย


   และในขณะนี้ตำนานของ EVO X ก็ใกล้จะปิดฉากลงแล้วภายในสิ้นปีนี้ แต่อย่างไรก็ตามทางสหรัฐอเมริกา ก็ยังต่อชีวิตให้ EVO X โดยเพิ่งปรับรุ่นปี 2015 เป็นรุ่นสั่งลา ส่วนใครที่หวังจะให้มี EVO XI คิดว่าภายใน 2-3 ปีนี้ ไม่มีออกมาให้ยลโฉมแน่ๆ เพราะทาง Mitsubishi จะเน้นรถไฮบริดและรถอเนกประสงค์ในช่วง 2-3 ปีนี้ ประกอบกับการตอบรับที่ไม่ค่อยดีในตลาดเก๋ง และเรายังเห็นข่าวอีกว่าถ้า Mitsubishi ต้องการผลิต C-Segment ก็ต้องยืมตัวถังจาก Renault ซึ่งก็จะไม่มีขายในไทย แต่ยังไงก็ตามดูเหมือนว่า Mitsubishi จะถอดใจจากตลาดรถซีดานคอมแพกต์แล้ว ทำให้ EVO X  เป็นอันต้องลาจากไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม Mitsubishi ก็จะผลิตรถรุ่นใหม่ที่อาจจะนำเอา DNA ของ EVO มาใส่ก็ได้ ยังไงก็รอดูต่อไปครับ และขอจบการบอกเล่าประวัติ Mitsubishi Lancer Evolution ทั้ง 10 เพียงเท่านี้ครับผม

และขอบคุณที่มาเนื้อหาทั้งหมดจากนิตยสาร Autobild ฉบับวันที่ 1 ก.ค.-วันที่ 15 ส.ค. 57 ครับ

 แนะนำ ติชม พูดคุย ติดตามข่าวสารรถใหม่ฉับไวก่อนใครกับ Cars New Update ที่นี่!!


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวรถได้
ห้ามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพนัน หรือสิ่งผิดกฎหมาย

Like Box